Subscribe:

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

Chemistry

การส่งตรวจทางเคมีคลินิก

ขอบเขตของงานบริการ

เป็นการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการหาสารเคมีต่างๆในร่างกาย  และสารเคมีที่มีผลต่อร่างกาย
โดยใช้ตัวอย่างสิ่งส่งตรวจที่มาจากเลือด น้ำเหลือง ปัสสาวะ น้ำเจาะไขสันหลัง หรือน้ำเจาะจากที่อื่นๆ  ของร่างกาย นำมาวิเคราะห์ทางปริมาณและคุณภาพให้ทราบถึงความผิดปกติของการทำงานของอวัยวะต่างๆหรือความเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีชนิดนั้น ได้แก่
1.  การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด   
2.  การตรวจสมรรถภาพการทำงานของไต
3.  การตรวจสมรรถภาพการทำงานของตับ                      
4.  การตรวจระดับไขมันในเลือด
             5.  การตรวจหาระดับเอ็นไซม์ต่างๆ                                  
             6.  การตรวจหาปริมาณอิเลคโตรไลท์

1. วิธีการเตรียมผู้ป่วยก่อนเก็บสิ่งส่งตรวจ
              1.1  การส่งตรวจ Blood sugar  ให้ผู้ป่วยงดอาหารอย่างน้อย 8 ชม. (ดื่มน้ำเปล่าได้)
                 1.2 การส่งตรวจระดับไขมันในเลือด (Lipid Profile) ได้แก่ การตรวจ Cholesterol ,Triglyceride ,                      HDL-C และ LDL-C ให้ผู้ป่วยงดอาหารอย่างน้อย 10-12 ชม. (ดื่มน้ำเปล่าได้)
                1.3 การส่งตรวจ OGTT ในหญิงตั้งครรภ์  ให้ผู้ป่วยงดอาหารอย่างน้อย 8 ชม. เจาะเลือดตรวจ FBS                   ก่อน  1 ครั้ง  แล้วให้ผู้ป่วยไปดื่มน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม  ดื่มให้หมดภายใน 5 นาที  หลังจากนั้น                       เจาะเลือดทุกชั่วโมง จนครบ 3 ชั่วโมง (แนะนำให้ผู้ป่วยนั่งเท่านั้น)

2. ข้อกำหนดในการเก็บและส่งสิ่งส่งตรวจ
                  2.1 การส่งตรวจทางเคมีคลินิกบางรายการต้องมีการเตรียมผู้ป่วยให้ถูกต้อง ดังรายละเอียดข้อที่ 1
                  2.2 รายการตรวจทางเคมีคลินิกทุกรายการ  ใช้ Lithium  heparin  blood  4 มล.
              2.3 การส่งตรวจ Microbilirubin (MB) ให้เจาะเลือดใส่ Hct tube  2-3 หลอด และต้องหุ้มป้องกันแสง               แล้วนำส่งห้องปฏิบัติการทันที
                  2.4 การทดสอบทางเคมีคลินิกทั่วไปควรส่งสิ่งส่งตรวจไปยังห้องปฏิบัติการโดยเร็วที่สุด      ไม่ต้องแช่
                      น้ำแข็งเพื่อห้องปฏิบัติการจะทำการปั่นแยกซีรัม /พลาสมาออกจากเม็ดเลือดแดงภายในเวลา 2 ชม.            และทำการทดสอบทันที    เพราะถ้าปล่อยให้เม็ดเลือดแช่อยู่ในซีรัม/พลาสมานานเกินไป  สารเคมี        ที่มีมากในเม็ดเลือดจะออกมาสู่ซีรัม / พลาสมา   เช่น  Potassium , SGOT (AST),  SGPT (ALT)         ทำให้ระดับสารเคมีดังกล่าวสูงเกินความเป็นจริง


3. วิธีการเก็บและส่งสิ่งส่งตรวจ
            3.1 การเจาะเก็บเลือด
                           3.1.1  ใช้ 70%alcohol หรือ isopropanol  เช็ดบริเวณเจาะเลือด เนื่องจากการใช้น้ำยาอื่นจะทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีที่มีอยู่น้ำยาฆ่าเชื้อนั้นได้ เช่น     การใช้โปตัสเซียมไอโอไดน์ทำความสะอาด      ทำให้ค่าของโปตัสเซียมและคลอไรด์ผิดปกติจากความเป็นจริง
                             3.1.2   หลีกเลี่ยงการเกิด Venous stasis จากการรัดแขนขณะเจาะเลือดนานเกิน 1 นาที     ซึ่งทำให้  สารเคมีบางตัวสูงกว่าความเป็นจริง เช่น  Protein ,Calcium
                            3.1.3   หลีกเลี่ยงการเจาะเลือดจากแขนที่ได้รับน้ำเกลือ เพราะในน้ำเกลือมีส่วนประกอบของ Glucose และ Electrolyte  ทำให้ผลการตรวจมีค่าสูงกว่าความเป็นจริงเนื่องจากการปนเปื้อนของน้ำเกลือและนอกจากนั้นยังไปเจือจางเลือดทำให้ตรวจสารอื่นได้ค่าต่ำกว่าความเป็นจริง
                     3.1.4  หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก     เพราะจะทำให้ผลการตรวจของสารเคมีบางชนิด      สูงกว่าความเป็นจริงได้  เช่น  Potassium , LDH , AST(SGOT)
                3.2  การเก็บปัสสาวะ
                 3.2.1  การเก็บปัสสาวะครั้งเดียว (Random urine)   ให้ผู้ป่วยเก็บปัสสาวะที่ถ่ายช่วงกลาง  (Mid-  stream urine) ประมาณ 5 -10 มล. ใส่แก้วเก็บปัสสาวะปิดฝาให้สนิท
                     3.2.2 การเก็บปัสสาวะ 24 ชม.  ให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะครั้งแรกทิ้งไป  แล้วเริ่มบันทึกเวลาและให้                           เก็บปัสสาวะต่อไปจนครบ 24 ชม   .โดยเก็บปัสสาวะใส่ในขวดเก็บปัสสาวะ 24 ชม. ที่ใส่ สารกันบูดไว้  (ติดต่อขอรับขวดที่ห้องปฏิบัติการ)
                     3.2.3  สิ่งส่งตรวจอื่นๆ  ได้แก่  Pleural fluid , peritoneal  fluid , CSF ให้เก็บใส่ภาชนะที่ระบุ

4. รายการทดสอบของงานเคมีคลินิก


การทดสอบ
วิธีวิเคราะห์
สิ่งส่งตรวจ
กำหนดวันทำ
ประกันเวลา
การรายงานผล
1. Glucose
E (Automate)
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
2.Creatinine
K (Automate)
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
3.BUN
E (Automate)
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
4.Uric acid
E (Automate)
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
5.Cholesterol
E (Automate)
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
6. Triglyceride
E (Automate)
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
7. HDL-C
Direct CHO-PAP/End
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
8. LDL-c
คำนวณจากสูตร
(Chol. – TG/5 – HDL Chol. )
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
9. Albumin
BCG  (Automate)
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
10.Alkaline Phosphatase
IFCC / RATE
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
11.Direct  Bilirubin
DCP-TFB / End
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.




12. Total  Bilirubin
DPD / DCA (Automate)
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
13. AST (SGOT)
IFCC (Automate)
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
14.ALT (SGPT)
IFCC (Automate)
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
15.Total Protein
Biuret –Blank (Automate)
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
16.Electrolyte   
    (เฉพาะ Na+,K+,Cl-)
Indirect  ISE (Automate)
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
17.Bicarbonate
E (Automate)
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
18.Serum  Ketone
Reagent Strip
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
19.Troponin -T
Immuno assay
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
15 นาที
20. HbA1C

Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
21. MB

Capillary  tube
ทุกวัน
1 ชม.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น