Subscribe:

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

Microbiology

การส่งตรวจทางจุลชีววิทยา

ขอบเขตของงานบริการ

1.             ให้บริการตรวจหาเชื้อจากสิ่งส่งตรวจชนิดต่างๆของผู้ป่วย ได้แก่ การย้อมเชื้อโดยตรงจากสิ่งส่งตรวจ  ได้แก่  Gram’s stain , Acid fast bacilli stain (AFB) , KOH preparation , Tzank smear
2.             ในส่วนของการเพาะเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย การทดสอบหาความไวของแบคทีเรียต่อยาต้าน  ให้บริการส่งต่อยังหน่วยงานภายนอก

1.วิธีการเตรียมผู้ป่วยก่อนเก็บสิ่งส่งตรวจ   : ไม่มี               

2. ข้อกำหนดในการเก็บและส่งสิ่งส่งตรวจ
          2.1    ควรส่งสิ่งส่งตรวจมายังห้องปฏิบัติการโดยเร็วที่สุดหลังการเก็บ  โดยทั่วไปไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง
                2.2  ในกรณีที่ช้ากว่ากำหนด  สิ่งส่งตรวจบางชนิดควรใส่ในอาหารนำส่ง (transport  media)ที่ช่วยให้                  เชื้อแบคทีเรียมีชีวิตอยู่ได้  และช่วยรักษาความชื้นแต่ไม่ช่วยให้เชื้อแบ่งตัวเพิ่มจำนวน
2.3    การส่งตรวจที่ต้องการประสานห้องปฏิบัติการล่วงหน้า           เพื่อประสานต่อยังห้องปฏิบัติการ
        จุลชีววิทยา รพ.สตูล  เพื่อขอเบิกอุปกรณ์และประสานการส่งตรวจล่วงหน้า  ได้แก่
                                2.3.1  การตรวจเพาะเชื้ออุปกรณ์การแพทย์ต่างๆ
                                2.3.2  การตรวจหา Coliform bacteria
                                2.3.3  การตรวจอาหาร  เช่น  นม  อาหารผสม
                                2.3.4 Hemoculture for mycobacterium
                                2.3.5 การส่งตรวจไข้หวัดใหญ่ H1N1  ,คอตีบ
                2.4   การส่งเพาะเชื้อ   หากส่งหลังเวลา 14.00 น.    ทางห้องปฏิบัติการจะดำเนินการส่งต่อในวันถัดไป

 3. วิธีการเก็บและส่งสิ่งส่งตรวจ
3.1   การเพาะเชื้อจากเลือด Hemo culture
                       แนวปฏิบัติในการเจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อ
                     3.1.1.  ข้อบ่งชี้ในการเจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อ
                       ผู้ป่วยมีอาการที่บ่งถึงการมีภาวะติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราในกระแสเลือด    มีSystemic   inflammatory  response  syndrome (SIRS)อย่างน้อย 1 ข้อ  อัตราการเต้นของหัวใจ > 90 ครั้ง/นาที  อุณหภูมิกาย <36 องศา หรือ >38 องศา  อัตราการหายใจ > 20 ครั้ง/นาที  เม็ด  เลือดขาวในเลือด < 4000  หรือ > 12000 เซลล์ / ลบ.มม.)ผู้ป่วยมีอาการและแสดงอาการที่บ่งชี้ถึงการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ ทารกแรกเกิดและเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีที่มีอาการบ่งชี้ถึงภาวะที่อาจมีการติดเชื้อ ในกระแสเลือด  เช่น  ซึม งอแง ไม่ดูดนม  แม้ว่าจะไม่มีไข้หรือเม็ดเลือดขาวปกติ
                            3.1.2.  เวลาที่เหมาะสมในการเจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อ
                                                ควรเจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อก่อนการให้ยาปฏิชีวนะ  ถ้าผู้ป่วยได้รับยามาก่อนควรเจาะเลือดเพื่อทำการเพาะเชื้อโดยเร็วที่สุดหลังจากที่ได้รับยา  หรือเจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อที่ 15นาทีก่อนให้ยาครั้งต่อไป
                           3.1.3.  จำนวนขวดของการเจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อ
                                    กรณีไม่เร่งด่วน  เจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อ   2  ขวด  ภายใน 24  ชม(ในแง่ความไวในการเพาะเชื้อในกระแสเลือดไม่มีความแตกต่างกัน  ระหว่างการเจาะเลือด 2 ครั้งพร้อมกันแต่ตำแหน่งต่างกัน)กรณีเร่งด่วนต้องรีบให้ยาปฏิชีวนะ  ให้เจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อขวดพร้อมกัน โดยเจาะที่ตำแหน่งต่างกันกรณีสงสัยภาวการณ์ติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจและภาวการณ์ติดเชื้อในกระแสเลือดแบบต่อเนื่อง เจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้ออย่างน้อย 2 ครั้ง  ห่างกันไม่เกิน 24 ชม.    
3.1.4. ขั้นตอนในการเจาะเลือด
  เตรียมอุปกรณ์การเจาะเลือดให้พร้อมก่อนทำการเจาะเลือดผู้ป่วย   ขวดเพาะเชื้อบางประเภทที่ต้อง    เก็บในตู้เย็นแนะนำให้นำมาตั้งไว้ที่อุณหภูมิห้องก่อนที่จะใส่เลือดเพื่อเพาะเชื้อ
  หาตำแหน่งเจาะเลือดที่เหมาะสมในการเจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อ      ควรเจาะเลือดบริเวณหลอดเลือด  ดำส่วนปลาย (Peripheral  vein) ควรหลีกเลี่ยงการเจาะเลือดที่หลอดเลือดที่ขาหนีบ (inguinal  vessels)
  ก่อนเจาะเลือดให้ทำความสะอาดมือด้วยการล้างมือด้วย antiseptic   หรือใช้      Alcohol hand rub     และสวมถุงมือแบบสะอาด
  การทำความสะอาดผิวหนัง   เป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งในการลดการปนเปื้อน โดยแนะนำให้ใช้     2%  Chlorhexidine   gluconate  in  70% alcohol               เนื่องจากประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อดีเทียบเท่า        Povidone – iodine      แต่ความไวในการรอให้แห้งและระยะเวลาที่ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อสูงสุดของ         2% Chlorhexidine  gluconate  in 70%  alcohol นั้นเร็วกว่า  คือ ถ้าใช้2% Chlorhexidine  gluconate  in     70% alcohol  จะใช้เวลารอให้แห้งและออกฤทธิ์ได้สูงสุดเพียง 30 วินาที   แต่ถ้าใช้  Povidone – iodine         จะต้องใช้เวลารอให้แห้งจนกว่าจะออกฤทธิ์ได้สูงสุดใช้เวลาถึง 2 นาที    ซึ่งในทางการปฏิบัติบุคลากร            ที่เจาะเลือดผู้ป่วยจะไม่รอถึง 2 นาที  แล้วค่อยเจาะเลือด  นอกจากเหตุผลในแง่ของการแห้งเร็ว    และ        ระยะเวลาที่ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อสูงสุดแล้ว           การคงเหลือของประสิทธิภาพของยาหลังทาของ     Chlorhexidine  gluconate  นั้นดีกว่า alcohol  หรือ    Povidone – iodine ประโยชน์ส่วนนี้จะเห็นได้ชัด        กรณีที่ผู้ป่วยเจาะเลือดยากทำให้ประสิทธิภาพของน้ำยาหมดฤทธิ์ก่อนที่จะได้เจาะเลือดผู้ป่วย   ทำให้มีโอกาสปนเปื้อนได้มากกว่า
การเช็ดผิวหนัง  ให้เช็ดวนจากด้านในออกด้านนอกเป็นวงกว้าง  อย่างน้อย  5 ซม.       ถูแรงพอควร                  เป็นเวลาประมาณ 30 วินาที   รอจนแห้งไม่น้อยกว่า 30 วินาที        สำหรับทารกแรกเกิดแนะนำให้ใช้                           70% alcohol  เนื่องจากข้อมูลของการใช้ Chlorhexidine  gluconateในแง่ความปลอดภัยในเด็ก 2 เดือน                             แรกยังมีค่อนข้างน้อย
  หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณผิวหนังที่เจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อ  หลังจากที่ทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่า    เชื้อแล้ว
  เตรียมจุกยางขวดเพาะเชื้อ  โดยทำความสะอาดจุกยางด้วย 70% alcohol  หรือ2% Chlorhexidine       gluconate in 70% alcohol  ไม่แนะนำให้เช็ดจุกยางด้วยสารที่มี iodine เป็นส่วนประกอบ      เนื่องจาก           อาจมีการเปลี่ยนสภาพของจุกยางได้หลังจากเข้าเครื่อง automed ทำให้มีโอกาสปนเปื้อนของเชื้อได้
    3.1.5. การเตรียมขวด Hemo  culture  ก่อนเติมเลือด
1. หักฝาที่ปิดขวดด้านบนออก
2. เช็ดส่วนบนของขวดด้วย 70% alcohol   แล้วปล่อยให้แห้ง
3. ข้อควรระวัง  ห้ามใช้ iodine หรือ Betadine เช็ดจุกยางที่ปากขวด เนื่องจากทำให้ยางเสื่อมสภาพ
3.1.6.  ทำการเจาะเลือดใส่ขวดด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ  โดยการเจาะตามชนิดของขวด
                                           1. ขวดผู้ใหญ่(สีน้ำเงิน)ปริมาตรที่เหมาะสมของเลือดที่เจาะในผู้ใหญ่เท่ากับ 5-10 ml.
                                           2. ขวดเด็ก (สีชมพู) ปริมาตรที่เหมาะสมของเลือดที่เจาะในเด็กเท่ากับ 1-5  ml.
                                           3. ขวดเพาะเชื้อ Mycobacterium และ Fungus  (สีแดง)ปริมาตรที่เหมาะสมของเลือดที่เจาะเท่ากับ 5-10 ml.
                                           4. ผสมเลือดในขวดให้เข้ากันโดยวิธีการวนขวดไปในทางเดียวกันประมาณ 10 รอบ
                                          5. ติดฉลากระบุชื่อ-สกุล HN  วันเวลาที่เจาะเลือดลงบนที่ว่างข้างขวด ห้ามปิดทับ Barcode
                                          6. ส่งขวด Hemo  culture  ไปยังห้องปฏิบัติการโดยเร็วที่สุด กรณีที่ไม่สามารถส่งได้ทันทีให้เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง  และรีบจัดส่งภายใน 24 ชม.

                3.2   Pus  Culture
                        3.2.1  ภาชนะสำหรับเก็บ  :   Stuart  ‘s  transport  medium  tube  และ Ammy transport  medium  tube  สำหรับส่งตรวจเชื้อคอตีบ

                        3.2.2  วิธีเก็บ
                                    กรณีแผลปิด  ให้ใช้สำลีชุบ alcohol    เช็ดทำความสะอาดบริเวณผิวหนังภายนอก  รอให้  alcohol แห้งแล้วใช้เข็มสะกิดให้แผลเปิด    แล้วใช้ไม้ swab  ป้ายในบริเวณแผลใส่ใน  Stuart  ‘s  transport  medium  ให้ถึงก้นแล้วปิดฝา  tube ถ้าเป็นตุ่มหนองขนาดใหญ่  อาจใช้เข็มและกระบอกฉีดยา เจาะดูดแล้วใส่ขวด sterile แล้วนำส่งห้องปฏิบัติการทันที กรณีที่เป็นแผลเปิด ให้เก็บโดยใช้ไม้swabป้ายบริเวณแผล (ระวังปนเปื้อนจากการสัมผัส กับผิวหนังบริเวณปากแผล) แล้วใส่ใน Stuart ‘s  transport  medium  ถ้าต้องการเพาะเชื้อ anaerobe ให้เก็บตัวอย่างจากแผลลึก  ใส่ใน Fluid  thioglycolate  medium 
                        3.2.3  การนำส่ง  :  นำส่งห้องปฏิบัติการทันที  หากไม่สามารถนำส่งได้ทันที      ให้เก็บไว้ที่                      อุณหภูมิห้อง ห้ามแช่เย็น
                3.3  Throat swab 
                                3.3.1  ภาชนะสำหรับเก็บ 
                  - ไม้ swab  ปราศจากเชื้อ 
                -  Stuart  ‘s  transport  medium  สำหรับการเก็บ virus ต้องใช้ virus  transport  medium 
                3.3.2  วิธีเก็บ :        ให้ผู้ป่วยอ้าปากกว้างๆใช้ไม้กดลิ้นกดลงบริเวณกลางลิ้น (ไม่ควรกดที่โคน                         ลิ้น เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดการขย้อน  และอาจจะอาเจียนได้) แล้วใช้ไม้ swab   สอดเข้าไป           ป้ายบริเวณส่วนหลังของลำคอต่อมทอนซิล  หรือบริเวณที่อักเสบหรือมีหนอง         ต้องระวัง
                อย่าให้ถูกลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม    แล้วใส่ไม้ swab ใน Stuart ‘s  transport  medium      ให้ถึงก้น   แล้วปิดฝา  tube                นำส่งห้องปฏิบัติการทันที 
3.3.3  การนำส่ง  :ให้นำส่งห้องปฏิบัติการทันที  หากไม่สามารถนำส่งได้ทันที    ให้เก็บไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 4 °C  ระหว่างการรอนำส่ง  แต่ไม่เก็บไว้เกิน 2 ชม.

แนวทางการเก็บสิ่งส่งตรวจไข้หวัด 2009   H1N1 และ Enterovirus
1. ประสานห้องปฏิบัติการก่อนทุกครั้ง  เพื่อขอรับชุดเก็บสิ่งส่งตรวจ
2. ขั้นตอนการเก็บสิ่งตรวจ  มีดังนี้   :   นำไม้พันสำลีจุ่มลงในหลอด VTM  จุกเหลือง (สำหรับไข้หวัด
   2009   H1N1) VTM จุกชมพู (สำหรับ Enterovirus)
                3. ตัดส่วนก้านที่เกินออก
                4. ปิดฝาเกลียวให้แน่น  ใช้สำลีแอลกอฮอล์เช็ดรอบฝานอกหลอด
                5. พัน Parafilm  3-5  รอบ 
                6. ใส่ในถุงพลาสติก 3 ชั้น  รัดยางให้แน่น
                7. ใส่ในขวดยาปิดให้สนิทแล้วนำใส่ถุงพลาสติกอีกครั้ง
                8.  ประสานห้องปฏิบัติการ เพื่อนำส่งต่อ
                การเก็บสิ่งส่งตรวจวิเคราะห์โรคคอตีบทางห้องปฏิบัติการ
                กรณีตรวจวินิจฉัย
1.                   Throat  swab
2.                   Nasopharyngal swab  เก็บจากรูจมูกทั้งสองข้าง  เฉพาะกรณีเป็น Nasal diphtheria
                ข้อแนะนำวิธีการเก็บสิ่งส่งตรวจ
     1. ควรสวม Maskขณะเก็บสิ่งส่งตรวจ
     2. ทำ Throat  swab   ในรายที่ตรวจวินิจฉัยขั้นต้นพบแผ่นเยื่อขาวบริเวณลิ้นไก่  และเพดานอ่อนใช้   
        ไม้กดลิ้นและส่องดูบริเวณที่มีแผ่นเยื่อสีเทาในลำคอด้วยไฟฉาย  ใช้ swab ถูและหมุนลงบนแผ่น            
         เยื่อ  ระวังอย่า swab สัมผัสบริเวณกระพุ้งแก้มและลิ้น  หรือสัมผัสน้ำลาย
     3. Nasopharyngal swab   ใช้  Flexible  calcium alginate swab ผ่านเข้าไปในรูจมูกช้าๆ ให้แตะผนัง
         ในสุด  หมุนลวด 5 วินาที  กระตุ้นให้คนไข้ไอ แล้วจึงค่อยๆเลื่อน swab ออกมา
ชนิดตัวอย่างที่ไม่เหมาะสม
1.   เก็บตัวอย่างไม่ถูกวิธี
2.   ตัวอย่างเก็บไว้นานเกิน 72 ชม.
3.   ภาชนะเก็บตัวอย่างแตก  หรือฉลากที่ติดระบุรายละเอียดผู้ป่วยไม่ชัดเจน
วิธีการนำส่งตัวอย่าง
1.   ส่งภายใน 2 ชมให้ใส่ swab ในหลอดไร้เชื้อ ไม่ต้องแช่เย็น
2.   ส่งภายใน 24 ชม. ให้ใส่ swabใน Amies  transport  medium  with charcoal (Media สีดำ)    แช่เย็น
3.   ส่งนานกว่า 24 ชม.  แต่ไม่เกิน 72 ชม.  ใส่ swab ใน silica gel transport  medium
4.   ควรระบุชื่อ- สกุลผู้ป่วย /อายุ/ เพศ /ประวัติคนไข้(ภูมิลำเนา) ชนิดของตัวอย่างและประวัติการรับ
      วัคซีน

3.4                  เสมหะ  (Sputum)
3.4.1                     ภาชนะสำหรับเก็บ   :  กระปุกปากกว้าง  ฝาเกลียวที่แห้งสะอาดและปราศจากเชื้อ
3.4.2                     วิธีเก็บ   :
1. เก็บเสมหะตอนเช้าหลังจากตื่นนอนใหม่ๆ   โดยให้ผู้ป่วยบ้วนปากหลายๆครั้ง         ด้วยน้ำ
   ธรรมดาเพื่อลดจำนวนเชื้อให้น้อยลง  ห้ามใช้น้ำยาบ้วนปากหรือน้ำยาฆ่าเชื้อใดๆ     เสมหะ
   ควรเป็นเสมหะจริงๆ  ไม่ผสมน้ำลาย  ห้ามเก็บเกิน 2 ชมและต้องระบุเวลาเก็บ
2.ให้ผู้ป่วยไอลึกๆ แรงๆ  แล้วบ้วนเสมหะใส่ในภาชนะสำรับเก็บ  ควรตรวจดูให้แน่ใจว่าเป็น
    เสมหะมิใช่น้ำลาย  หากสิ่งส่งตรวจไม่ถูกต้องจะทำให้แปรผลผิดพลาดด้วย
3. ถ้าต้องการตรวจเชื้อวัณโรคควรเก็บเสมหะ 3 วัน ติดต่อกัน
3.4.3                     การนำส่ง   :
                        ควรนำส่งเสมหะที่เก็บได้และใบนำส่งสิ่งส่งตรวจไปยังห้องปฏิบัติการทันที  หากไม่       สามารถนำส่งได้ทันทีให้เก็บในตู้เย็น 4 °C  ระหว่างรอการนำส่ง  แต่ควรเก็บไว้ไม่เกิน 2 ชม.

3.5                  ปัสสาวะ  (Urine)
3.5.1                     ภาชนะสำหรับเก็บ   :   ขวด Sterile ที่มีฝาปิด
3.5.2                     วิธีเก็บ   :      เก็บปัสสาวะโดยวิธี Clean-voided  midstream   ถ้าผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะอยู่ (catheter) ให้เช็ดสายสวนปัสสาวะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อก่อน (70 % alcohol)      แล้วจึงใช้ syringe ดูดปัสสาวะในสายปราศจากเชื้อและระบุในใบส่งตรวจให้ชัดเจนว่าเป็น midstream urine หรือ catheterized  urine
3.5.3                     การนำส่ง :
                ปัสสาวะที่เก็บแล้วต้องนำส่งทันที (ไม่ควรเกิน 2 ชม.)  หากไม่สามารถนำส่งได้ทันที  ให้เก็บใส่ตู้เย็นที่ 4 °C  แต่ไม่ควรเกิน 24 ชม.
         3.6  อุจจาระ (Stool rectal swab)
3.6.1.  ภาชนะสำหรับเก็บ  :
                ขวด/หลอดที่บรรจุอาหาร Cary-Blair  medium  (อาจเก็บในตู้เย็น 4 °C  เพื่อป้องกันการแห้ง        ของ medium  แต่นำออกมาให้หายเย็นก่อนลงสิ่งส่งตรวจ)
3.6.2. วิธีเก็บ   :
                เก็บ stool  swab  โดยใช้ไม้พันสำลีปราศเชื้อป้ายอุจจาระที่ถ่ายมาใหม่ๆ  ใส่ในขวดที่บรรจุ        อาหาร Cary-Blair  ให้ลึกถึงก้นขวด  โดยหักไม้ส่วนเกินทิ้ง  ปิดฝาขวด / หลอดให้สนิทนำส่ง           ห้องปฏิบัติการพร้อมใบส่งตรวจ
                เก็บ   Rectal  swab          โดยใช้ไม้พันสำลีปราศเชื้อป้ายอุจจาระที่ถ่ายมาใหม่ๆ    จุ่มลงใน     อาหาร   Cary-Blair ให้ลึกถึงก้นขวดโดยหักไม้ส่วนเกินทิ้ง  ปิดฝาขวด /  หลอดให้สนิทนำส่ง            ห้องปฏิบัติการพร้อมใบส่งตรวจ
3.6.3 การนำส่ง  :
        ควรนำส่งห้องปฏิบัติการทันที  หากไม่สามารถนำส่งได้ทันทีให้เก็บที่อุณหภูมิห้อง    ห้ามแช่เย็น
หมายเหตุ :
1.             ผู้ป่วยที่สงสัยจะเป็นโรคบิด  ควรเลือกเก็บอุจจาระที่เป็นมูกปนเลือด
2.             ขวด/หลอดที่บรรจุอาหาร Cary-Blair  medium  ห้ามใช้เก็บอุจจาระ  เพราะเนื้ออุจจาระจะไม่เข้ากับอาหารวุ้นดังกล่าว  จะใช้เก็บเฉพาะ ที่เป็น stool swab หรือ Rectal swab เท่านั้น

      3.7. เนื้อเยื่อ (Tissue)
            3.7.1   โดยการตัดชิ้นเนื้อ (Tissue  Biopsy) เพื่อส่งเพาะเชื้อ  อาจใส่ชิ้นเนื้อไว้ในน้ำเกลือปราศเชื้อเพื่อ
                       ป้องกันไม่ให้แห้ง  หรือขอเบิก  thioglycolate  broth     และใช้กรรไกรปราศจากเชื้อตัดชิ้นเนื้อ
                      ใส่ลงไปโดยวิธี Sterile  แต่ไม่ควรใช้สาร Fixative เช่น  Formalin  เพราะจะทำให้เชื้อแบคทีเรีย
                      ตายได้

3.8          สารน้ำจากร่างกาย (Body  fluid)
     3.8.1. ภาชนะสำหรับเก็บ   :      ขวด Sterile ที่มีฝาปิด
     3.8.2  วิธีเก็บ  :       แพทย์จะเป็นผู้เจาะน้ำไขสันหลังหรือน้ำจากส่วนต่างๆของร่างกายของผู้ป่วยด้วยวิธี Aseptic  technique  แล้วใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ ขวด  CSF  ควรเจาะใส่ขวด  sterile  3 ขวด  คือขวดที่ 1  ส่ง Cell count , Cell differential     
                                                       ขวดที่ 2  ส่ง  Protein ,sugar       
                                                        ขวดที่ 3  ส่ง culture  
                       ถ้าสงสัยพบเชื้อ Anaerobe  จะมีการรายงานลักษณะ gram stain  จะไม่รายงานชนิดของเชื้อ
3.8.3                      การนำส่ง  :           ควรนำส่งห้องปฏิบัติการโดยเร็วที่สุด    หากไม่สามารถนำส่งได้ให้เก็บที่อุณหภูมิห้อง ห้ามแช่เย็น

3.9   การตรวจเชื้อรา
3.9.1  ห้องปฏิบัติการจะตรวจหาเชื้อราโดยวิธี   KOH  preparation
3.9.2  สิ่งส่งตรวจอื่นๆ  เช่น  สิ่งส่งตรวจจากกระจกตา (cornea)  ให้ใส่ในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดพิเศษสำหรับเชื้อราโดยตรง หากส่งช้าให้เก็บที่อุณหภูมิห้อง ไม่เกิน 24 ชม.

4. การขอทดสอบเพิ่ม
          ควรประสานห้องปฏิบัติการ เพื่อโทรศัพท์แจ้งขอตรวจเพิ่มทันที  หลังจากที่ได้รับการรายงานผลการเพาะเชื้อแบคทีเรียในเลือด , Body fluid , CSF ,Tissue ภายใน 7 วัน  เพราะเชื้อที่ต้องการทดสอบอาจตายหรือถูกทิ้งไป

5. รายการตรวจงานจุลชีววิทยาคลินิก


รายการตรวจ
วิธีวิเคราะห์
สิ่งส่งตรวจ
กำหนด
วันตรวจ
ประกันเวลารายงานผล
ค่าปกติ
1. AFB  Stain
ย้อมสี
Sputum, Pus, Body  fluid,CSFและอื่นๆ
ทุกวัน
2-4 ชม.
Negative

2. Gram’s stain
ย้อมสี
Sputum, Pus, Body fluid ,CSFและอื่นๆ
ทุกวัน
2-4 ชม.

3. KOH

ผิวหนัง , Pus ,specific specimen
ทุกวัน
ชม.
Negative

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น