Subscribe:

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

Chemistry

การส่งตรวจทางเคมีคลินิก

ขอบเขตของงานบริการ

เป็นการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการหาสารเคมีต่างๆในร่างกาย  และสารเคมีที่มีผลต่อร่างกาย
โดยใช้ตัวอย่างสิ่งส่งตรวจที่มาจากเลือด น้ำเหลือง ปัสสาวะ น้ำเจาะไขสันหลัง หรือน้ำเจาะจากที่อื่นๆ  ของร่างกาย นำมาวิเคราะห์ทางปริมาณและคุณภาพให้ทราบถึงความผิดปกติของการทำงานของอวัยวะต่างๆหรือความเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีชนิดนั้น ได้แก่
1.  การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด   
2.  การตรวจสมรรถภาพการทำงานของไต
3.  การตรวจสมรรถภาพการทำงานของตับ                      
4.  การตรวจระดับไขมันในเลือด
             5.  การตรวจหาระดับเอ็นไซม์ต่างๆ                                  
             6.  การตรวจหาปริมาณอิเลคโตรไลท์

1. วิธีการเตรียมผู้ป่วยก่อนเก็บสิ่งส่งตรวจ
              1.1  การส่งตรวจ Blood sugar  ให้ผู้ป่วยงดอาหารอย่างน้อย 8 ชม. (ดื่มน้ำเปล่าได้)
                 1.2 การส่งตรวจระดับไขมันในเลือด (Lipid Profile) ได้แก่ การตรวจ Cholesterol ,Triglyceride ,                      HDL-C และ LDL-C ให้ผู้ป่วยงดอาหารอย่างน้อย 10-12 ชม. (ดื่มน้ำเปล่าได้)
                1.3 การส่งตรวจ OGTT ในหญิงตั้งครรภ์  ให้ผู้ป่วยงดอาหารอย่างน้อย 8 ชม. เจาะเลือดตรวจ FBS                   ก่อน  1 ครั้ง  แล้วให้ผู้ป่วยไปดื่มน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม  ดื่มให้หมดภายใน 5 นาที  หลังจากนั้น                       เจาะเลือดทุกชั่วโมง จนครบ 3 ชั่วโมง (แนะนำให้ผู้ป่วยนั่งเท่านั้น)

2. ข้อกำหนดในการเก็บและส่งสิ่งส่งตรวจ
                  2.1 การส่งตรวจทางเคมีคลินิกบางรายการต้องมีการเตรียมผู้ป่วยให้ถูกต้อง ดังรายละเอียดข้อที่ 1
                  2.2 รายการตรวจทางเคมีคลินิกทุกรายการ  ใช้ Lithium  heparin  blood  4 มล.
              2.3 การส่งตรวจ Microbilirubin (MB) ให้เจาะเลือดใส่ Hct tube  2-3 หลอด และต้องหุ้มป้องกันแสง               แล้วนำส่งห้องปฏิบัติการทันที
                  2.4 การทดสอบทางเคมีคลินิกทั่วไปควรส่งสิ่งส่งตรวจไปยังห้องปฏิบัติการโดยเร็วที่สุด      ไม่ต้องแช่
                      น้ำแข็งเพื่อห้องปฏิบัติการจะทำการปั่นแยกซีรัม /พลาสมาออกจากเม็ดเลือดแดงภายในเวลา 2 ชม.            และทำการทดสอบทันที    เพราะถ้าปล่อยให้เม็ดเลือดแช่อยู่ในซีรัม/พลาสมานานเกินไป  สารเคมี        ที่มีมากในเม็ดเลือดจะออกมาสู่ซีรัม / พลาสมา   เช่น  Potassium , SGOT (AST),  SGPT (ALT)         ทำให้ระดับสารเคมีดังกล่าวสูงเกินความเป็นจริง


3. วิธีการเก็บและส่งสิ่งส่งตรวจ
            3.1 การเจาะเก็บเลือด
                           3.1.1  ใช้ 70%alcohol หรือ isopropanol  เช็ดบริเวณเจาะเลือด เนื่องจากการใช้น้ำยาอื่นจะทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีที่มีอยู่น้ำยาฆ่าเชื้อนั้นได้ เช่น     การใช้โปตัสเซียมไอโอไดน์ทำความสะอาด      ทำให้ค่าของโปตัสเซียมและคลอไรด์ผิดปกติจากความเป็นจริง
                             3.1.2   หลีกเลี่ยงการเกิด Venous stasis จากการรัดแขนขณะเจาะเลือดนานเกิน 1 นาที     ซึ่งทำให้  สารเคมีบางตัวสูงกว่าความเป็นจริง เช่น  Protein ,Calcium
                            3.1.3   หลีกเลี่ยงการเจาะเลือดจากแขนที่ได้รับน้ำเกลือ เพราะในน้ำเกลือมีส่วนประกอบของ Glucose และ Electrolyte  ทำให้ผลการตรวจมีค่าสูงกว่าความเป็นจริงเนื่องจากการปนเปื้อนของน้ำเกลือและนอกจากนั้นยังไปเจือจางเลือดทำให้ตรวจสารอื่นได้ค่าต่ำกว่าความเป็นจริง
                     3.1.4  หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก     เพราะจะทำให้ผลการตรวจของสารเคมีบางชนิด      สูงกว่าความเป็นจริงได้  เช่น  Potassium , LDH , AST(SGOT)
                3.2  การเก็บปัสสาวะ
                 3.2.1  การเก็บปัสสาวะครั้งเดียว (Random urine)   ให้ผู้ป่วยเก็บปัสสาวะที่ถ่ายช่วงกลาง  (Mid-  stream urine) ประมาณ 5 -10 มล. ใส่แก้วเก็บปัสสาวะปิดฝาให้สนิท
                     3.2.2 การเก็บปัสสาวะ 24 ชม.  ให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะครั้งแรกทิ้งไป  แล้วเริ่มบันทึกเวลาและให้                           เก็บปัสสาวะต่อไปจนครบ 24 ชม   .โดยเก็บปัสสาวะใส่ในขวดเก็บปัสสาวะ 24 ชม. ที่ใส่ สารกันบูดไว้  (ติดต่อขอรับขวดที่ห้องปฏิบัติการ)
                     3.2.3  สิ่งส่งตรวจอื่นๆ  ได้แก่  Pleural fluid , peritoneal  fluid , CSF ให้เก็บใส่ภาชนะที่ระบุ

4. รายการทดสอบของงานเคมีคลินิก


การทดสอบ
วิธีวิเคราะห์
สิ่งส่งตรวจ
กำหนดวันทำ
ประกันเวลา
การรายงานผล
1. Glucose
E (Automate)
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
2.Creatinine
K (Automate)
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
3.BUN
E (Automate)
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
4.Uric acid
E (Automate)
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
5.Cholesterol
E (Automate)
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
6. Triglyceride
E (Automate)
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
7. HDL-C
Direct CHO-PAP/End
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
8. LDL-c
คำนวณจากสูตร
(Chol. – TG/5 – HDL Chol. )
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
9. Albumin
BCG  (Automate)
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
10.Alkaline Phosphatase
IFCC / RATE
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
11.Direct  Bilirubin
DCP-TFB / End
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.




12. Total  Bilirubin
DPD / DCA (Automate)
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
13. AST (SGOT)
IFCC (Automate)
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
14.ALT (SGPT)
IFCC (Automate)
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
15.Total Protein
Biuret –Blank (Automate)
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
16.Electrolyte   
    (เฉพาะ Na+,K+,Cl-)
Indirect  ISE (Automate)
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
17.Bicarbonate
E (Automate)
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
18.Serum  Ketone
Reagent Strip
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
19.Troponin -T
Immuno assay
Litium  heparin  blood
ทุกวัน
15 นาที
20. HbA1C

Litium  heparin  blood
ทุกวัน
1  ชม.
21. MB

Capillary  tube
ทุกวัน
1 ชม.

Toxicology

การส่งตรวจทางด้านนิติเวชศาสตร์และพิษวิทยา
(Forensic  Medicine & Toxicology )

1.             การส่งตรวจสารระเหย   เช่น Alcohol ,Cyanide  ในGastric Lavage  จำนวนที่เก็บอย่างน้อย 50 มล.
 ปิดฝาภาชนะให้สนิท  พันทับด้วยพาราฟิล์ม  หากไม่สามารถส่งตรวจได้ทันที      ให้เก็บในช่องแช่แข็ง
และแช่เย็นระหว่างนำส่ง
2.             การตรวจปริมาณ Alcohol (ethanol) ในเลือด  
-          เจาะเลือดใส่ใน NaF tube  (ฝาสีเทา)  แล้วปิดทับด้วยพาราฟิล์ม 
-          ห้ามใช้ 70% alcohol ฆ่าเชื้อในการเจาะเลือด  ให้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อชนิดอื่นแทน  เช่น Betadine
3.             การตรวจสารเสพติดกลุ่มมอร์ฟีนและอนุพันธ์กลุ่มเมทแอมเฟตามีน  ให้เก็บปัสสาวะชนิด Random-urine ปริมาณอย่างน้อย 30 มล. 
4.             การตรวจหาระดับยาทุกชนิด  ใช้ Clotted  Blood  Tube 4  ml.  ยกเว้นยา cyclosporine ให้ใช้เลือด 2 ml.  ใส่ใน  EDTA tube
5.             การตรวจตะกั่วในเลือด (Lead Level) เจาะเลือด 2  มล.  ใส่ใน Lithium  heparine  tube
6.             การตรวจยาฆ่าแมลง    ตัวอย่างที่ส่งตรวจ  ได้แก่  Gastric  lavage  หรือปัสสาวะ  ปริมาณไม่น้อยกว่า 50  มล.   และตัวอย่างสารพิษ (ถ้ามี)   กรณีสงสัยกลุ่ม organophosphate   ให้เจาะ Clotted  Blood  ประมาณ 3  มล.  สำหรับตรวจหาระดับ enzyme  cholinesterase
1.             การตรวจวัตถุพยานคดีล่วงละเมิดทางเพศ  ตัวอย่างที่ต้องเก็บคือ
3.1      Vaginal swab 
-          ใช้   sterile swab    ป้ายของเหลวในช่องคลอด      บริเวณแอ่งที่ลึกที่สุดของช่องคลอดใต้
ปากมดลูก (Posterior  fornix ) ใส่ขวด/ หลอดหรือถุงที่สะอาด       นำส่งโดยเร็วที่สุดเพื่อตรวจหาตัวอสุจิ  กรณีที่ไม่สามารถส่งได้ทันทีควรนำ swab          มาตั้งทิ้งไว้ให้แห้งสนิท       แล้วนำกลับเข้าบรรจุในขวด  /  หลอดหรือถุง   เพื่อส่งตรวจหาเอนไซม์แอซิดฟอสฟาเตส
3.2      การส่งคราบที่ต้องสงสัย  หากคราบนั้นติดอยู่ที่ตัวผู้เสียหายให้ใช้ swab ชุบ Normal Saline  Solution (NSS )   ให้พอชื้นๆเช็ดบริเวณคราบแล้วปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ 3.1
      3.3 หากต้องส่งเสื้อผ้าที่มีคราบที่ต้องสงสัยมาตรวจ อาจตัดเอาเฉพาะคราบที่ต้องสงสัยมาส่งหรือ                           ส่งมาทั้งชิ้นก็ได้

       3.4   ให้นำส่งพร้อมใบนำส่งแเอซิดฟอสฟาเตส  และหนังสือราชการในการนำส่งด้วย

ฺBlood bank

การส่งตรวจงานธนาคารเลือด  (Blood  Bank)

ขอบเขตการให้บริการ       
          เปิดให้บริการเฉพาะการตรวจหาหมู่เลือด ABO  และ   Rh  (Slide  method)   และให้บริการประสาน /จัดหา และติดต่อขอใช้เลือดและส่วนประกอบของเลือดเพื่อให้บริการผู้ป่วยเท่านั้น

1.วิธีการเตรียมผู้ป่วยก่อนเก็บสิ่งส่งตรวจ   :         ไม่มี    

2. ข้อกำหนดในการเก็บและส่งสิ่งส่งตรวจ
          2.1  การขอใช้เลือดในผู้ป่วยทั่วไป        ควรติดต่อขอใช้เลือดได้ภายในเวลาราชการ (ไม่เกิน 15.00 น.)
                       ยกเว้นในรายที่เร่งด่วนเท่านั้น  ไม่ควรขอเลือดผู้ป่วยทั่วไปนอกเวลาราชการ
                2.2  การขอใช้เลือดในผู้ป่วย Emergency  สามารถประสานขอได้ทุกเวลา         แต่ต้องมีข้อบ่งชี้ว่าเป็น             Emergency  จริงๆ      เท่านั้น
                2.3  การขอใช้เกล็ดเลือดเข้มข้น      ทางธนาคารเลือด รพ.สตูล / รพ.ละงู จะไม่มีการเก็บสำรองไว้และ             เป็นส่วนประกอบของเลือดที่มีอายุจำกัด  ซึ่งส่วนใหญ่จะเบิกจากศูนย์บริการโลหิต  ดังนั้นจึงต้อง              ยืนยันความต้องการใช้จริงเท่านั้น และประสานขอใช้ล่วงหน้า เพื่อทางกลุ่มงานเทคนิคการแพทย์                    จะประสานธนาคารเลือด   ให้มีการจัดเตรียมหรือขอเบิกให้ผู้ป่วยเป็นรายๆไป

3. ข้อแนะนำในการเก็บสิ่งส่งตรวจ
                3.1    ชี้บ่งผู้ป่วย  โดยการถามให้ผู้ป่วยตอบชื่อ-สกุลเอง  หรือตรวจสอบจากป้ายชื่อที่ข้อมูลผู้ป่วยก่อน
                       ทุกครั้ง
                3.2    เมื่อมีการเจาะเลือดผู้ป่วยควรทำให้เสร็จเป็นรายๆไป  การเตรียมหลอดเลือดและฉลากควรทำที่
                      ข้างเตียงผู้ป่วย
                3.3    หลอดเลือดที่ใส่เลือดผู้ป่วยต้องติดฉลากระบุ ชื่อ-สกุล  HN.  อายุ  หอผู้ป่วย      ครบถ้วนถูกต้อง
                      ตรงกันกับใบขอใช้เลือด
                3.4    หลอดเลือดจะต้องsterile  เลือดที่เจาะได้จะต้องไม่ Hemolysis     เพราะมีผลต่อการอ่านปฏิกิริยา
                       การทดสอบ
                3.5    เลือดที่ส่งตรวจควรเจาะใหม่ทุกครั้งและนำส่งทันที    ไม่ควรนำเลือดที่เจาะทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง
                      นานๆ เพราะมีผลต่อการการแปลปฏิกิริยาการทดสอบ
                3.6   กรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาในการตรวจ Cross  match หรือต้องการตรวจหาAntibody ที่ซับซ้อนต้องใช้         
                     ตัวอย่างเลือดมากกว่าปกติอาจจะต้องขอเจาะเลือดเพิ่มซึ่งทางธนาคารเลือดจะแจ้งมาเป็นรายๆไป
                3.7  เด็กอายุต่ำกว่า 2  ปี  ที่เจาะเลือดจากหลอดเลือดดำไม่ได้  ให้เจาะใส่  Red Capiliary tube  จำนวน               5 -10 หลอด  ปิดท้ายด้วยดินน้ำมันแล้วติดเทปกาวมากับใบขอใช้เลือด
                3.8   เด็กแรกเกิดที่สงสัย   Hemolytic disease  of  the Newborn (HDN) ให้เจาะเลือดตามข้อ 3.7  และ
                      เจาะเลือดแม่ Blood  Clotted 5-7 ml. ส่งมาพร้อมกัน
4.  แนวทางปฏิบัติในการขอใช้เลือด
          4.1 เมื่อแพทย์มีการสั่งใช้เลือด ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการทราบ โดยระบุชนิดของเลือดและ           ปริมาณที่แพทย์สั่งใช้  เพื่อประสานขอใช้เลือดจากคลังเลือดของ รพ.สตูล  / รพ.ละงู กรณีผู้ป่วยที่มีประวัติเคยได้รับเลือด จะมีข้อมูลหมู่เลือดในประวัติผู้ป่วย  HOS-OS  หรือผู้ป่วยที่ทราบหมู่เลือดแล้วให้ระบุ ชื่อ-สกุล HN และหมู่เลือดผู้ป่วยให้ทราบเบื้องต้นกรณีที่ไม่ทราบหมู่เลือดให้เจาะเลือดใส่ Red Hct Tube 2-3 หลอดส่งตรวจหมู่เลือดที่LAB
                4.2   เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ  จะดำเนินการประสานธนาคารเลือดรพ.สตูล / รพ.ละงู   เพื่อขอใช้เลือด
                4.3   เจาะเลือดผู้ป่วยใส่ Clotted Blood Tube (ฝาสีแดงยาว)  5-6  ml.   และนำส่งพร้อมแบบฟอร์มการ             ขอใช้เลือด       ให้กรอกรายละเอียดต่างๆตามแบบฟอร์มและตรวจสอบความถูกต้องก่อนทุกครั้ง 
4.4   เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการประสานขอใช้รถโรงพยาบาล  เพื่อนำเลือดไปCross match และรับเลือด       กลับมาให้ผู้ป่วย  ซึ่งการขนส่งเลือดจะใช้กระติกบรรจุ ice pack  (2-3 อัน) เพื่อรักษาห่วงโซ่ความ     เย็นในการขนส่ง   โดยมีเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลเป็นผู้ดำเนินการและยึดปฏิบัติตามแนวทาง          ปฏิบัติของคลังเลือดที่ขอใช้เลือดทุกครั้ง
4.5  เมื่อรับเลือดแล้ว   เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการจะตรวจสอบความถูกต้องตรงกันของเลือด    และแจ้ง               ให้หน่วยงานที่ขอใช้มารับเลือดไปให้ผู้ป่วย  กรณีที่ไม่สามารถให้เลือดได้ทันที     ให้เก็บเลือดใน                   ตู้เย็นที่ควบคุมอุณหภูมิ 4 °C  (± 2 )
            4.6  จัดส่งแบบบันทึกการเฝ้าระวังปฏิกิริยาจากการให้เลือด   กลับมาให้ห้องปฏิบัติการด้วยทุกครั้ง
                4.7  หลังจากส่งเลือด Cross   match  แล้ว  จะได้รับเลือดประมาณ 2 ชม.

 5. การอุ่นเลือด
          การให้เลือดจำนวนไม่มากและไม่เร็วเกินไป  ไม่จำเป็นต้องอุ่นเลือดแต่ถ้าจำเป็นต้องให้เลือดเร็วๆ  ให้อุ่นด้วยน้ำอุ่นที่วัดอุณหภูมิแน่นอนด้วยเทอร์โมมิเตอร์ 37 °C  และระวังอุณหภูมิสูงเกินไปอาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้  หากต้องการคืนเลือดยูนิตที่อุ่นแล้วให้แจ้งธนาคารเลือดทุกครั้ง  เนื่องจากจะไม่นำเลือดยูนิตนั้นไปใช้เพราะอาจมีอันตรายที่เกิดจากมีแบคทีเรียปนอยู่แบ่งตัวจนถึงlethal dose ซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยได้

6. การขอเลือดทดแทนจากญาติ
            เมื่อผู้ป่วยใช้เลือดไปแล้ว  ใคร่ขอความร่วมมือจากแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง  โปรดชี้แจงแก่ญาติของผู้ป่วยให้มาบริจาคเลือดทดแทนด้วย เพราะเลือดที่ได้จากการรับบริจาคทั่วไปนั้นมีปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณที่ต้องการใช้

7.รายการตรวจทางธนาคารเลือด


รายการตรวจ
วิธีวิเคราะห์
สิ่งส่งตรวจ
กำหนดวันตรวจ
ประกันเวลารายงานผล
1. ABO grouping
Slide  test
Red  Hct  tube 2-3 tube, EDTA blood , เลือดจากปลายนิ้ว
ทุกวัน
3-5 นาที
2. Rh typing
Slide  test
Red  Hct  tube 2-3 tube, EDTA blood , เลือดจากปลายนิ้ว
ทุกวัน
3-5 นาที